Translate

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทบาทของ ICT กับการศึกษาไทย ไอซีที มีส่วนช่วยพัฒนาการศึกษาไทยอย่างไร

คอมพิวเตอร์ ถือเป็นสื่อนวัตกรรมใหม่อย่างหนึ่ง เพิ่งแพร่หลายขึ้นมาประมาณ 40 ปี มานี้เอง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บ คำนวณ ประมวลผล แสดงผล หรืองานอื่นใด ตามคำสั่ง ที่จัดทำขึ้น แล้วบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์นั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็วมาก จนเป็นสื่อสำคัญยิ่งในการนำเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ทุก ๆ วินาที สามารถรับรู้ความเป็นไปในทุกพื้นพิภพได้เกือบพร้อมกัน ทั้งที่อยู่กันคนละซีกโลก การรับรู้ข่าวสารที่รวดเร็วนำประโยชน์สู่ผู้ใช้ นำประโยชน์สู่ประเทศชาติได้อย่างมหาศาล เช่น สามารถติดต่อค้าขายกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องพบหน้ากัน ไม่มีข้อจำกัดของเวลา ไม่มีข้อจำกัดด้านพรมแดน สามารถใช้ระบบ E - Commerce และใช้ในเรื่องการศึกษา การแสวงหาความรู้ การสื่อสาร รวมถึงกิจการอื่น ๆ มากมาย หากผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์เป็นอย่างคุ้มค่า
การพัฒนาการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 เราคงปฏิเสธกันไม่ได้ที่จะเห็นว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ในวงการศึกษาของประเทศไทย มีความชัดเจนว่าได้มีการนำ ICT เข้ามาใช้ในระดับนโยบายของประเทศกันเลยทีเดียว และโรงเรียนต่างๆ นั้น ก็ได้รับจัดสรรเงินทุนสนับสนุนด้าน ICT กันอย่างทั่วถึง ทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กตามสัดส่วน โดยที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทศวรรษ 2020  มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และคุณค่าก็อยู่ที่การค้นพบสิ่งใหม่ที่นำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและตัวความรู้เอง ความมั่งคั่งของแต่ละชาติจะเคลื่อนย้าย จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเงินทุนในอดีต ไปสู่ความรู้และความชำนาญ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
           การพัฒนาอย่างรวดเร็วของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทำให้หลายประเทศในโลกที่เห็นความสำคัญของการศึกษา ต่างปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ ที่พึ่งพาอุตสาหกรรมเป็นหลัก มาเป็นระบบที่เน้นความรู้ในการพัฒนาประเทศแทน เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้มีรายได้ของประชากร ติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศที่ส่งออกที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ส่วนประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อไปสู่ประเทศที่พัฒนาด้านอุตสาหกรรม ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว กำลังจะปรับเปลี่ยนไปสู่ สังคมดิจิตอลไปแล้ว วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้งนั้น ทำให้โครงสร้าง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไป เช่น การโคลนนิ่ง การตัดต่อพันธุกรรม การถอดรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต สิ่งเหล่านี้คือวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่มีผลกับการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังช่วยในการรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุและวัฒนธรรมอันเก่าแก่ไม่ให้เสื่อมไปตามกาลเวลา ช่วยศึกษาอดีตอันรุ่งโรจน์ของอาณาจักรหรือเมืองแห่งประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ในอดีตได้ด้วย
         ทั้งหมดที่กล่าวมาคือผลของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งหากผู้นำประเทศมองเห็น และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ก็สามารถแข่งขันกับนานาประเทศที่พัฒนาแล้วได้ จะเป็นพลิกโฉมการเรียนด้วยนวัตกรรมใหม่ทางไอซีที  ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันจำเป็นที่เราต้องเรียนรู้และก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีนั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงนำมาใช้ในวงการศึกษาด้วย
         ICT เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลอย่างยิ่งในการเรียนการสอน โดยการตั้งจุดมุ่งหมายให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน
มีสมรรถนะในการใช้ ICT ได้ ในส่วนของการใช้ในเนื้อหาบทเรียนและใช้เป็นเครื่องมือการเรียน ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ และลักษณะการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างให้การเรียนการสอนด้วย ICT มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (กิดานันท์ มลิทอง, 2548)

มุมมองทางสังคมกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไทย   
ถ้ามีคนถามเด็ก ๆ ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ส่วนใหญ่จะตอบว่า หมอ ตำรวจ ทหาร ข้าราชการ น้อยคนนักที่จะตอบว่าอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักพัฒนาเทคโนโลยี เพราะสังคมของประเทศไทยนั้นยังไม่เข้าใจในวิทยาศาสตร์เพียงพอ ไม่รู้ว่าวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนั้นเข้าไปมีส่วนกับทุกๆ เรื่องของชีวิต พอพูดถึงเรื่องวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หลาย ๆ คนมักจะนึกถึงสมการการคำนวณอันซับซ้อนและเรื่องเลวร้ายที่เกิดจากวิทยาศาสตร์ เช่น เหตุการณ์เตาปฏิกรณ์ปรมาณูรั่วที่รัสเซีย แก็สพิษรั่วที่อินเดีย ระเบิดปรมาณู เป็นต้น จนทำให้สังคมเหล่านั้นปิดกั้นไม่อยากรับรู้ หรือเข้าใจวิทยาศาสตร์ว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ

             งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ซึ่งจัดที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงแรมรอยัล ออคิด มีจำนวนผู้เข้าลงทะเบียนประมาณ 800 คน เมื่อเปรียบเทียบประชากรกว่า 60 ล้านคน สังคมไทยยังมองไม่เห็นบทบาทของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่จะช่วยพัฒนาประเทศได้ นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีบทบาทในการสร้างชาติ เหมือนกับนักการเมือง และนักเศรษฐศาสตร์ ในการประชุมครั้งนั้นมีข้อหนึ่งที่ต้องการให้มีการถ่ายทอดความรู้ และความตื่นเต้นทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้สังคมได้รับรู้บ้างและควรเป็นหน้าที่ของใคร

ICT เปลี่ยนแปลงโลกการศึกษาอย่างไร?
     1. ลดช่องว่างการแข่งขันระหว่างองค์กรหรือสถาบันการศึกษาทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
     2. ทำให้องค์กรสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ต้องปรับตัวทั้งในด้านการบริหาร การจัดการองค์กรรวมไปถึงวิธี ดำเนินการ
     3. ก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจการศึกษามากขึ้น
     4. สร้างช่องทางการขยายการศึกษามากขึ้น
     5. เกิดการทำงานภายใต้หลักการ “การศึกษา 24 ชั่วโมง” ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมทางการศึกษาตลอดเวลา        
     6. สร้างรูปแบบของความร่วมมือทางการศึกษาหรือเครือข่ายการศึกษาที่หลากหลายขึ้น
     7. ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ให้เกิดแรงผลักดันในการจัดการศึกษารูปแบบแปลกใหม่มากขึ้น

ICT เอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร?
     1. เป็นตลาดการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเลือกซื้อสินค้าความรู้และบริการการศึกษาจากแหล่งต่างๆ ได้ทั่วโลก
     2. สามารถคัดเลือกและเปรียบเทียบคุณภาพราคา และช่วยประหยัดเวลาเนื่องจากไม่ต้องเดินทาง (ขณะนี้มี เว็บไซต์บริการให้เข้าศึกษาก่อนจ่ายเงินทีหลัง)
     3. สามารถรับข้อมูลการศึกษาที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจหลากหลายแง่มุม เช่น รายละเอียดของหลักสูตร ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน รวมถึงยังสามารถให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดการศึกษานั้นๆ ได้โดยตรงอีกด้วย
     4. ได้รับความสะดวกในการศึกษา เพราะสามารถนั่งศึกษาอยู่ที่บ้านหรือที่ใด ๆ ได้ทั่วโลกที่มีอินเทอร์เน็ต

      การใช้ ICT ทำให้สามารถมีการเรียนได้ทุกเวลาในทุกสถานที่ จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องนั่งเรียนอยู่แต่ในห้องเรียนอีกต่อไป ด้วยสมรรถนะของคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว และเครือข่ายไร้สายที่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้งานได้ในทุกหนทุกแห่งโดยสะดวก การเรียนการสอนทั้งแบบในระบบและนอกระบบโรงเรียนจึงขยายวงกว้างไปได้ในทุกแห่งในโลก เครือข่ายการศึกษาเป็นสิ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนโดยใช้ ICT ได้เป็นอย่างยิ่ง (เติมศักดิ์ เศรษฐวัชราวนิช. 2540)

ข้อเสนอแนะ
การแก้ไขปัญหาบุคลากรขาดความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จะต้องแก้พร้อมๆ กัน เพื่อให้การแก้ไขโครงสร้างการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นไปอย่างยั่งยืน ในแต่ละด้าน ดังนี้
     1. ด้านผู้เรียน คือผู้ที่จะทำหน้าที่สร้างความเข้าใจ และให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ต้องปลูกฝังความเชื่อที่ว่าวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตทุกชีวิตบนโลกใบนี้ เพื่อที่สร้างแรงจูงใจใฝ่รู้เรื่องวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตลอดไป
     2. ด้านผู้สอน  อาชีพ ครู อาจารย์ จะเป็นผู้จุดประกายความสนใจให้นักเรียนนักศึกษาในระดับต่างๆ ให้เห็นถึงคุณค่า และความจำเป็นที่ต้องสนใจวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ส่วนผู้สอนที่จะต้องสอนผู้ที่จะจบสาขานิเทศศาสตร์นั้นจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เป็นผู้ที่ต้องค้นหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
     3. ด้านหลักสูตร ควรปรับหลักสูตรทุกระดับให้มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเน้นให้ฝึกการคิดมากกว่า การมุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้เท่านั้น

เอกสารอ้างอิง ::
1. กิดานันท์  มลิทอง. ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2548.
2. สิปปนนท์ เกตุทัต. “แนวคิดเกี่ยวกับทิศทางและนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาของประเทศไทย” ใน ความหวังและอนาคตของชาติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. พระนครศรีอยุธยา : คณะวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, ม.ป.ป.
3. เติมศักดิ์  เศรษฐวัชราวนิช. วิทยาศาสตร์พัฒนาชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2540.
4. สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด, 2546.

ที่มา : วารสาร สควค. ฉบับที่ 13 หน้าที่ 12-13 เขียนโดย นางนิตยาพร   กินบุญ ครู สควค. รุ่น 6 นักศึกษา ป.เอก สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น
ภาพประกอบจาก : http://interacc.typepad.com/.a/6a01053596fb28970c0105361a4ed2970c-pi
http://www.krusmart.com/ict-on-thai-education/

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความหมายและความสำคัญในการนำ ICT มาใช้ในการเรียนรู้

วามหมายและความสำคัญในการนำ ICT มาใช้ในการเรียนรู้
โดยความเป็นจริงแล้ว ครูเราใช้ ICT จัดการเรียนการสอนมานานแล้ว เพียงแต่ยังใช้รูปแบบเดิม ซึ่งหากมีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล จะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ICT หมายถึง การนำเทคโนโลยีดิจิตอล เครื่องมือสื่อสาร หรือเครือค่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการเข้าถึง จัดการ บูรณาการ ประเมินผล และสร้างข้อมูล

  • เป้าหมายของการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ เพื่อ เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มผลงาน และการติดต่อสื่อสาร
  • ความร่วมมือของนักเรียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน
  • บริหารจัดการข้อมูล โดยการค้นคว้าข้อมูล
  • ความร่วมมือของครู โดยครูทำงานร่วมกันเอง ทำงานร่วมกับนักเรียน และเพื่อนภายนอกโรงเรียน
  • ความร่วมมือระหว่างโรงเรียน โดยนักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นที่อยู่นอกโรงเรียน
  • การสร้างงาน โดยการจัดทำชิ้นงาน การเผยแพร่ผลงาน
  • ช่วยบททวนบทเรียน โดยซอร์ฟแวร์เสริมการเรียน
ICT จะมีความสำคัญ ก็ต่อเมื่อ

  • ถูกใช้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหา และพัฒนาความคิดวิเคราะห์
  • ใช้ในการสร้างกลยุทธ์ เพื่อไขปัญหาที่ซับซ้อน และพัฒนาความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง สำหรับเรื่องที่สนใจ

ประโยชน์จากการนำระบบ ICT มาประยุกต์ใช้ พอสรุปได้ดังนี้
1.   ความสะดวกรวดเร็วในระหว่างการดำเนินงาน
2.   ลดปริมาณผู้ดำเนินงานและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง
3.   ระบบการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระเบียบมากขึ้นกว่าเดิม
4.   ลดข้อผิดพลาดของเอกสารในระหว่างการดำเนินการได้
5.   สร้างความโปร่งใสให้กับหน่วยงานหรือองค์กรได้
6.   ลดปริมาณเอกสารในระหว่างการดำเนินงานได้มาก (กระดาษ)
7.   ลดขั้นตอนในระหว่างการดำเนินการได้มาก
8.   ประหยัดเนื้อที่จัดเก็บเอกสาร (กระดาษ)


เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายด้านมีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ  การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
4.  พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยระบบที่เป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกลเทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

เทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง เป็นต้น

แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
1. การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา
ระบบคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญา โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
2. การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตรเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ

การจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
             ปัจจัยพื้นฐานคือการสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสมรรถนะและจำนวนเพียงต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลาจะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติมคือ
1. ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
การที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์และจากสื่อ Electronic
2. ครูและผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครูและผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตรหรือสนองความสนใจของผู้เรียน
3. สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน  เรียกว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการสาขาต่าง ๆ
4. การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ

ที่มา : eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1199986548-act1-ICTmeanning%20before16-11-50.doc -

ICT  กับการปฏิรูปการศึกษา

ICT จะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาในหมวดที่ 9 เป็นจริง  คือจะเห็นได้ว่าปัจจุบัน ICT ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ วันเราและเกี่ยวข้องกับระบบงานต่างๆมากมาย ทั้ง ในทางตรงและทางอ้อม แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ ICT เข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษา  กล่าวคือ   รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น   ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาชีพความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะ ในการผลิตรวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ    ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย  จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการระเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก   โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์   และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
             1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง   มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  มีระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia)  ระบบวิดีโออนนดีมานด์  (Video on Demand)  วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  (Video Teleconference)  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
             2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ     การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
             3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ          ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน   และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น  การใช้โทรศัพท์  โทรสาร  เทเลคอนเฟอเรนส์  และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
การพัฒนาการเรียนการสอน
             การพัฒนาในหมวดนี้เป็นการพัฒนาในรูปแบบของการปรับรื้อระบบการเรียนการสอนใหม่  โดยคำนึงถึงการพัฒนาที่เกี่ยวกับการเจริญงอกงามในตัวผู้เรียนเน้นทักษะการเลือกสารสนเทศ  การวิเคราะห์  และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร    ขณะเดียวกันต้องทำการฝึกทักษะกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลข่าวสารให้กับผู้เรียนพร้อมกับการตอบสนองกับข้อมูลข่าวสารอย่างชาญฉลาด  ครู  และนักเรียนต้องช่วยกันสร้างสรรค์สารสนเทศ เพื่อให้เกิดคุณค่าต่อการเรียนการสอนครูต้องพัฒนาการสอนโดยเพิ่มทักษะการสืบค้นสารสนเทศให้กับนักเรียน  และประเมินผลจากการนำมาใช้มากกว่าการจดจำเนื้อหา  หมายถึงอาศัยสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการเสนอแนวคิดและเนื้อหาเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการเข้าใจมากกว่าการจดจำ
รูปแบบกระบวนการเรียนการสอน
             กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดในการปฏิรูปต้องแตกต่างไปจากการเรียนการสอนแบบดั่งเดิม กล่าวคือ
             1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิดโดยฝึกการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล    การใฝ่หาความรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม
             2. จัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการ  เช่น   สื่อมวลชนทุกแขนง  เครื่องคอมพิวเตอร์  ทรัพยากรท้องถิ่น  ภูมิปัญญาชาวบ้าน และหน่วยงานต่าง ๆ  ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเอง และพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้าง-ขวาง
             3. จัดกิจกรรมทั้งใน  และนอกหลักสูตร  โดยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่ต้องเรียนในห้องเรียนให้เสร็จสิ้นและให้แบ่งเวลาทำกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อเสริมประสบการณ์ทางสังคม            
             4. ปรับกระบวนการเรียนการสอน   และเทคนิคการสอนของครูให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการจัดการศึกษา    เน้นให้ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความ-สะดวกและชี้แนะให้ผู้เรียนทำการศึกษาค้นคว้า คิดและตัดสินใจด้วยตนเอง  ขณะเดียวกันครูต้องเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม  และจริยธรรมด้วย ซึ่งต้องปลูกฝังทั้งในชั่วโมงเรียนและกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ
ปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำว่า ICT กันเสมอ ในเชิงการแข่งขันคนที่มีความรู้ความสามารถเท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่เราเรียกว่า ยุคสมัยของการดำรงชีวิตภายใต้การแข่งขันด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge-based economy/society) การนำ ICT ไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจาก ICT เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูง กว่าเครื่องมือการสอนอื่น ๆ เราสามารถใช้ ICT เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ คำว่า “ ICT” ย่อมาจาก Information and Communication Technologies หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง การรวมตัวกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีการสื่อสาร (CT) เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลข่าวสารมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ หรือหมวดหมู่ เพื่อให้ทุกคนที่สนใจเข้าถึงข้อมูล และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามกรอบแนวความคิดทั้ง 6 ประการ ดังกล่าว จัดเป็นองค์ประกอบเบื้องต้นที่สำคัญในสาระขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกัน
      การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สิ่งสำคัญที่คุณครูจะทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้เข้าใจเป็นอย่างดี ก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า “สื่อการเรียนรู้” และสื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุดก็คือ สิ่งที่จะสื่อให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้ดีที่สุด ซึ่งมีมากมายหลากหลาย การเรียนรู้ในบางเรื่องแค่คุณครูบอกเล่าหรือแสดงท่าทาง เด็กก็เข้าใจได้ และในบางเรื่องต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ฯลฯ เข้ามาช่วย การพิจารณาใช้สื่อฯ ไม่ควรยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สื่อฯทุกชนิดมีคุณค่าและมีความสำคัญที่แตกต่าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะนำมาใช้
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นประการสำคัญ ใครก็ตามที่เป็นคนสำคัญของเรา เราย่อมมีความรักความปรารถนาดี ให้แก่เขา จะคิดจะทำอะไร ก็มักจะคิดถึงเขาก่อนคนอื่น และคิดถึงประโยชน์ที่เขาควรจะได้รับ
      การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คืออะไร
แนวคิดนี้มีที่มาจากแนวคิดทางการศึกษาของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งเป็นต้นคิดในเรื่องของ “การเรียนรู้โดยการกระทำ” หรือ “Learning by Doing” (Dewey ,1963) อันเป็นแนวคิดที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับทั่วโลกมานานแล้ว การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติจัดกระทำนี้ นับว่าเป็นการเปลี่ยนบทบาทในการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการเป็น “ผู้รับ” มาเป็น “ผู้เรียน” และเปลี่ยนบทบาทของครูจาก “ผู้สอน” หรือ “ผู้ถ่ายทอดข้อมูลความรู้” มาเป็น “ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้” ให้ผู้เรียน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบทบาทนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจุดเน้นของการเรียนรู้ว่าอยู่ที่ผู้เรียนมากกว่าอยู่ที่ผู้สอนดังนั้นผู้เรียนจึงกลายเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพราะบทบาทในการเรียนรู้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ
การใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน
      ในศตวรรษแห่งภูมิปัญญามีการนำเอา ICT มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เช่นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Assisted Instruction) การเรียนในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ (e-Leaning) การเรียนโดยใช้การสื่อสารทางไกล (Distance Learning) ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย หรือในโลกแห่งความรู้ (World Knowledge) ซึ่งผู้เรียนมีความสามารถที่จะเรียนเวลาใด สถานที่ใด หรือแม้กระทั่งจะเรียนรู้กับใครก็ได้ตามความสนใจของแต่ละคน จึงเกิดความยืดหยุ่นในการเรียนรู้มากขึ้น
      กิดานันท์ มลิทอง ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนไว้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เป็นการเรียนรู้ในเรื่องของเทคโนโลยี เช่น เรียนรู้ เกี่ยวกับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ว่าคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการประมวลผล เก็บบันทึก ค้นคืนสารสนเทศได้อย่างไร เครื่องพิมพ์เลเซอร์และเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก มีการทำงานอย่างไร เทคโนโลยีการสื่อสารมีรูปแบบใดบ้าง ช่องทางสื่อสารมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยอุปกรณ์ใดบ้าง ฯลฯ วิชาเพื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีมีหลายวิชา เช่น วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น วิชาเครือข่ายดิจิทัล หรืออาจเรียนรู้จากเว็บไซต์ ที่นำเสนอเรื่องต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะมัลติมีเดีย
2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี เป็นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล การใช้ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ในการสร้างบทเรียนการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้า การใช้ WWW เป็นสื่อในลักษณะการสอนบนเว็บ การเรียนการสอนในลักษณะอีเลิร์นนิง และการทัศนศึกษาเสมือนด้วยแหล่งเรียนรู้เสมือนจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นต้น
3. การเรียนรู้ไปใช้กับเทคโนโลยี เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ได้แก่ การเรียนรู้ว่าขณะนี้เทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปในลักษณะและรูปแบบใดบ้างทั้งทางด้านวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เช่นซอฟต์แวร์โปรแกรมใหม่ ๆ เครื่อง tablet pc ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ไร้สายที่ผู้ใช้สามารถเขียนลงบนจอภาพได้ กล้องดิจิทัลเพื่อถ่ายภาพและเว็บแค็ม (Webcam) เพื่อใช้ส่งภาพขณะสนทนาทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯ เมื่อเรียนรู้ถึงความใหม่ทันสมัยของเทคโนโลยีแล้วจำนำมาประยุกต์ใช้ในวงการต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง เช่น การใช้กล้องวีดิทัศน์ถ่าพภาพการสอนส่งไปบนอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ผู้เรียนในสถาบันการศึกษาอื่นเห็นภาพและได้ยินเสียงการสอน การใช้เครือข่ายไร้สายด้วยเทคโนโลยี WI FI ทั้งในและนอกห้องเรียน
      ตามแผนแม่บทของการศึกษาแห่งชาติ และการกำหนดนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา โดยการใช้ไอซีทีในสถาบันการศึกษาทั้งหมดและมีให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนตามประสิทธิภาพที่พอเพียงอย่างทั่วถึง โดยมีวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายสำคัญ สรุปได้ดังนี้
ผู้เรียน
ผู้เรียนสามารถใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยมีจุดมุ่งหมายคือ
1. การรู้เทคโนโลยีและการรู้สารสนเทศ ในระดับพื้นฐานเพื่อสามารถเข้าถึงและสามารถใช้ไอซีทีเพื่อการค้นคว้า รวบรวม และประมวลผลจากแหล่งต่าง ๆ และเพื่อเการสร้างองค์ความรู้ใหม่
2. บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีและทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม
3. กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณค่า ทัศนคติ และจริยธรรมในเชิงบวกในการใช้ไอซีทีซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและกระบวนการคิดอย่างวิเคราะห์
4. ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าถึง ใช้ และเรียนรู้ทักษะไอซีทีในการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักสูตรพื้นฐาน
5. ต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสในการใช้และพัฒนาความรู้ไอซีทีในทุกสาขาวิชา และเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนมีการใช้ไอซีทีให้มากขึ้น
6. กระบวนการเรียนการสอนต้องไม่จัดเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น ผู้เรียนควรมีโอกาสสัมผัสโลกภายนอกผ่านเครือข่ายไอซีที การรู้ไอซีที และมีการพัฒนาการของทัศนคติที่ดีต่อไอซีทีตามความต้องการของแต่ละคน
7. นักเรียนทุกคนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6 สามารถใช้โปรแกรมประมวลคำและตารางการคำนวณได้ นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 สามารถเขียนโปรแกรมได้
8. นักเรียนทุกคนในโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 1-100 คนขึ้นไป ใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลได้
ผู้สอน
ผู้สอนควรมีความรู้และทักษะไอซีทีในระดับสูง รวมถึงความเข้าใจในการพัฒนาการของการใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1. สมรรถนะด้านไอซีทีจะช่วยให้ผู้สอนมีความรู้อย่างกว้างขวาง มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลเพื่อสามารถเป็นผู้แนะนำแกผู้เรียนได้
2. คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือหลักสำคัญสำหรับผู้สอนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรการเรียนการเตรียมแผนการสอน ให้การบ้าน และติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียน ผู้สอนคนอื่นๆและผู้บริหาร
3. ผู้สอนควรได้รับการอบรมในการใช้ไอซีทีและสามารถบูรณาการไอซีทีในกิจกรรมการเรียนการสอนได้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างวิเคราะห์และสร้างสรรค์
4. ผู้สอนควรติดตามพัฒนาการและความก้าวหน้าของไอซีทีเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนได้
5. ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ใช้คอมพิวเตอร์เป็น และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ และต้องมีวิชาสอนด้วยการบูรณาการไอซีที
รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ
2. การส่งการสอนทางไกลด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
3. การเรียนการสอนโดยการประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์
4. บทเรียนลักษณะข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติ
5. บันทึกข้อมูลและสารสนเทศด้วยซีดีและดีวีดี
6. การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีไร้สาย
7. การศึกษาเชิงลึกด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน
      กล่าวโดยสรุป จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ปรัชญา ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงตัวของมันเองร่วมกับปัจจัยด้านต่าง ๆ ในด้านขอบข่ายสาระของแนวคิด และกระบวนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา จากโสตทัศนศึกษา มาเป็นเทคโนโลยีการศึกษาครอบคลุม การจัดระบบ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อศาสตร์ และสื่อต่าง ๆ เกิดเป็นสหวิทยาการที่มีขอบข่ายกว้างขวาง ครอบคลุมการศึกษาทุกแบบ การศึกษาด้วยตนเอง การศึกษาทางไกล การเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษากับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายและสื่อสมัยใหม่ มุ่งสร้างองค์ความรู้แก่ผู้เรียน โดยเปลี่ยนจาก Teacher Center เป็น Child Center และมีแนวโน้มจะเป็น Media Center
ICT กับการปฏิรูปการศึกษา | การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี
https://gilfkaevarity.wordpress.com/2009/03/11/ict-

คุณลักษณะคุณค่าและความสำคัญของ ict ต่อการศึกษา

ความหมาย คุณลักษณะ คุณค่า และความสำคัญของ ict ต่อการศึกษา

"ICT-ไอซีที" นั้น คือ ตัวย่อของ Information and Communication Technology ซึ่งหมายถึง "เทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสารและการติดต่อสื่อสาร" มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของทุกคนในปัจจุบัน เพราะมนุษย์ต้องทำงานควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยี  จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ "กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-Ministry of Information and Communication Technology" หรือกระทรวงไอซีที-ICT

อธิบายขอบข่ายงานแยกตามตัวอักษรได้ว่า "I" Information -สารสนเทศ นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ มีภาระหน้าที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข่าวสารข้อมูลบนเครือข่าย อยู่ในศีลธรรมอันดี และไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมธุรกิจ ICT เป็นการเฉพาะ โดยให้สิทธิ์พิเศษในด้านการจัดหาเงินทุนหรือการร่วมลงทุน เป็นแหล่งกลางของข้อมูลออนไลน์ จัดให้มีองค์กรที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจ ICT สนับสนุนส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการป้องกันเครือข่ายสารสนเทศในสถาบันการศึกษา และเผยแพร่ข้อมูลให้กับกลุ่มธุรกิจ

"C" Communications-การสื่อสาร ขอบข่ายงานคือจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารทั้งในและระหว่างประเทศที่เพียงพอในต้นทุนที่แข่งขันได้กับประเทศในกลุ่มผู้นำในภูมิภาค มีเป้าหมายให้ประชากรมากกว่าร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เพิ่มห้องสมุดไอที เพิ่มอัตราความสามารถในการใช้ ICT ของประชากรให้ถึงร้อยละ 60 เนื่องจากเป็นพื้นฐานต่อทักษะของประชาชนในสังคมเศรษฐกิจ องค์ความรู้

กำหนดให้อัตราค่าบริการในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศขั้นต้นเหมาะสมกับประชาชนส่วนใหญ่ ให้มีการสร้างเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยมีโครงสร้างการเชื่อมต่อตามโครงสร้างระบบราชการ

"T" Technology-เทคโนโลยี รวมคำ 2 คำคือ Technique หมายถึงวิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และ Logic หมายถึงความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว

ลักษณะงานคือสร้างกรอบกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่และการผลิตภายในประเทศ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ ICT ลดความเสี่ยงในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนโดยเฉพาะ SME ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ร่วมมือกับประเทศคู่ค้า เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และมีความปลอดภัยในระบบ ส่งเสริมให้มีการผลิตฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้มาตรฐาน
http://www.learners.in.th/blogs/posts/32717

คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ

เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนี้

เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ

ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์

ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว

ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง

ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ

https://sites.google.com/site/destinyraisa/thekhnoloyi-sarsnthes-laea-kar-suxsar/khwam-hmay-khxng-ict

คุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21

E- Teacher ประกอบด้วย

1. Experience มีประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ ใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Intermet

e-mail CD เป็นต้น

2. Extended มีทักษะการค้นหาความรู้ได้ตลอดเวลาเพราะเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต สามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ไหนก็ได้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการ หาความรู้ ด้วยเทคโนโลยี

3. Expanded การขยายผลสู่ความรู้นั้นสู่นักเรียน ประชาชนทั่วไปและชุมชนสามารถ ถ่ายทอดความรู้ลง CD VDO โทรทัศน์ หรือบน web เพื่อให้เกิดการเพิ่มความรู้ที่ เป็น ประโยชน์ของบุคลากรโดยรวม

4. Exploration สามารถเลือกเนื้อหาที่ทันสมัยเอกสารอ้างอิงค้นคว้าทั้งสารและบันเทิง เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำมาออกแบบการเรียนการสอน

5. Evaluation เป็นนักประเมินที่ดี สามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล

6. End-User เป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี เช่น สามารถ Browers ไป website ที่มีคุณค่า บน อินเตอร์เน็ตและเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้

7. Enabler สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียนและเนื้อหาเพิ่มเติมมาใช้ประกอบการ เรียนการสอน สามารถใช้ software และ hardware มาสร้างบทเรียนอย่างน้อยที่สุด สมารถสร้างการนำเสนอเนื้อหาด้วย power point เป็นการจูงใจให้นักเรียนสนใจใน การเรียนมากขึ้นหรือการใช้ Authoring เป็นต้น

8. Engagement ครูที่ร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนความเห็นหาแนวร่วม เพื่อให้เกิดชุมชน เช่น การพูดคุยกันบนเว็บ ทำให้มีความคิดใหม่ๆ มีข้อเสนอแนะ เกิดชุมชนครูบนเว็บ

9. Efficient and Effective ครูที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลคือ ใช้เทคโนโลยีได้ อย่างคล่องแคล่วเป็นผู้ผลิตผู้กระจายและใช้ความรู้

http://www.learners.in.th/blogs/posts/456094

การจัดงบประมาณด้าน ICT ประจำปี 2556

http://www.moac.go.th/more_news.php?cid=774&filename=index

จากการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานภาคผู้ผลิตจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาซึ่งส่วนใหญ่คือสถานศึกษาผู้ผลิตแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเขตภาคเหนือ โดยมีวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่เป็นเจ้าของเรื่องและมีผู้ประสานหลักคือ BOI ภาคเหนือร่วมแรงร่วมใจเชิญชวนสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะงานที่สถานประกอบการดำเนินการผลิต และคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับผู้ที่จะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานประกอบการเหล่านี้ ซึ่งพอสรุปได้ว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์และต้องการให่สถานศึกษาฝึกฝนบ่มเพาะให้มาก ได้แก่

1. มีความรับผิดชอบ รักความก้าวหน้า ใฝ่เรียนใฝ่รู้ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ต้องเรียนรู้พัฒนาด้วยตนเองมากกว่าในห้องเรียน และต้องพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง

2. มีความมุ่งมั่นอดทน สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารโต้ตอบแสดงความคิดเห็นได้ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน และอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับงานได้เข้าใจ
มีประสบการณ์ในการทำโครงงานร่วมกับสถานประกอบการเพื่อได้มีประสบการณ์ในการทำงานในสถานการจริง สามารถคิด ตัดสินใจได้เองเกี่ยวกับเรื่องงาน/ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่ต้องรอคำสั่ง
มีความรู้ลึกในเรื่องเทคโนโลยีอย่างน้อย 1 เรื่อง มีความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Open Source และสามารถทำงานและพัฒนางานได้จริง สามารถศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูล ความรู้จาก Internet และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ได้นอกเหนือจากที่ได้เรียนในชั้นเรียน มีจรรยาบรรณและรับผิดชอบต่อสังคม สามารถผลิตชิ้นงานด้านweb-site สามารถ update ข้อมูล และพัฒนานำความรู้ใหม่ๆ มาใช้งานได้

คุณลักษณะผู้เรียนกับการเรียนรู้ด้วย ICT  ผู้เรียน จะมีลักษณะเป็น
1. E-confidence Learner ตามทฤษฏีของ Bloom’s Taxonomy กล่าวคือ มีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เหมาะสมเป็นลำดับขั้นตามช่วงวัย
          1.1 มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ICT เช่น รู้จัก Hardware และ Software
          1.2 สามารถเลือกใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการสืบค้นแหล่งข้อมูลเพื่อประกอบการทำงาน
ในรายวิชาที่
เรียนได้
          1.3 สามารถวิเคราะห์ ความน่าเชื่อถือและคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นด้วย ICT และรู้จัก เลือกใช้ ICT ได้ด้วยตัวเองอย่างเหมาะสม
          1.4 สามารถเลือกและใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการเข้าสู่แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางและเกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงที่เหมาะสม นอกจากนั้นยังสามารถบูรณาการใช้ ICT ให้เหมาะกับตนเอง งานและผุ้ที่เกี่ยวข้องได้

2. เกิด Independent Learning หมายถึง ผู้เรียนสามารถค้นคว้าความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองทุกที่
ทุกเวลา ในเรื่องที่สนใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าว่าการเรียนเป็นสิ่งสำคัญและเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของตน มากกว่าเรียนแบบเดิมที่ เรียนตามเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดให้

มีทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ ICT ในโรงเรียน ดังนี้

      1.1 learning to learn เกิดการเรียนเพื่อรู้ เรียนเพื่อสนองความอยากรู้ของตน รู้วิธีที่จะเรียนให้ประสบความสำเร็จ
      1.2 Collaboration มีเครือข่าย สังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน สามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และลงลึกในรายละเอียดได้
      1.3 Team work ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
      1.4 Communication มีการสื่อสาร ปรึกษาหารือระหว่างเพื่อนและครู ได้
      1.5 Problem Solving รู้และใช้กลวิธีต่าง ๆในการแก้ไขปัญหาได้
      1.6 Information Handling สามารถรู้จักแหล่งสืบค้นข้อมูลและเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม

http://www.gotoknow.org/posts/337401


คุณค่าของเทคโนโลยีการศึกษา  แนวคิดทางการศึกษาของบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ที่ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาเจริญก้าวหน้า เช่น การผลิตกระดาษ การพิมพ์ การถ่ายภาพ การฉายภาพ การบันทึกเสียง วิทยุ-โทรทัศน์ การบันทึกภาพ จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

เทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆ

เทคโนโลยีเน้นการศึกษาไปสู่ความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมนั้นเป็นการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ออกไปได้อย่างกว้าง

เทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้

เทคโนโลยีทำให้การเรียนเป็นไปอย่างฉับพลันยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการสอนเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างที่อยู่ภาย นอกโรงเรียนและโลกที่อยู่ภายในโรงเรียน

เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้น

ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ทุกหนแห่ง เทคโนโลยีพร้อมที่จะหยิบยื่นความรู้ให้แก่ทุกคนเสมอ

http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/p2-3.html


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ
1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

เทคโนโลยีสารนิเทศเบื้องต้นที่ควรนำมาใช้ในการดำเนินงานทั่วๆไป คือ

การใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล ในบรรดาองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารนิเทศทั้งหมด คอมพิวเตอร์ นับว่ามีบทบาทมากที่สุดต่อการเป็น องค์ประกอบที่สำคัญ คอมพิวเตอร์เป็น อุปกรณ์สื่อสารนิเทศที่มีบทบาทอย่างมากต่อสังคมสารนิเทศ คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนแปลงสภาพการให้บริการสารนิเทศในห้องสมุดจากการเสียเวลา สืบค้นสารนิเทศหลาย ๆ นาที หรือหลายชั่วโมงมาเป็นเสียเวลา เพียงไม่กี่วินาที คอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคม เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่มีบทบาทยิ่งกว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่มนุษย์ได้ผลิตขึ้นใช้ในโลกมาก่อน คนในสังคมสมัยสังคมสารนิเทศจะเห็น พัฒนาการด้านนี้ได้อย่างเด่นชัด นับตั้งแต่มีการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก คอมพิวเตอร์ไม่ใช่เพียงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่กลับเป็นสิ่งที่คนในสังคมสารนิเทศ ต้องรู้จักและมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นอุปกรณ์และองค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารนิเทศ ที่บรรณารักษ์จะต้องนำมาใช้อยู่ตลอดเวลา เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ ตั้งแต่ยุคแรก (พ.ศ. 2487-2501) จนถึงยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา) ได้มีการนำเครื่อง คอมพิวเตอร์มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น งานจัดการเอกสารข้อมูลแบบ ต่าง ๆ งานระบบสารนิเทศเพื่อการจัดการและงานด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นต้น และจากการแข่งขัน ในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูก และสามารถใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในสังคมสารนิเทศ ปัจจุบัน ในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน กล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวันของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น บทบาทของคอมพิวเตอร์มีมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการสารนิเทศ และสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสารนิเทศเพื่อใช้ประโยชน์ กับตนเองก็หลีกเลี่ยงการ ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ด้านอื่น ๆ ไม่ได้

บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการใช้สารนิเทศในสังคมมีดังต่อไปนี้ 

ด้านการศึกษา  การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องทราบสารนิเทศต่าง ๆ ทางด้าน นักศึกษา ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์ ข้อมูลแต่ละด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วย ในการตัดสินใจได้ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้ ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น การนำคอมพิวเตอร์เข้า มามีส่วนช่วยในการสอน และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ

1. เพื่อการสอนแบบตัวต่อตัว
2. เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน
3. เพื่อการสาธิต
4. เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
5. เพื่อสอนงานด้านการเขียน
6. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน
7. เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว

ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังมีบทบาทต่อการศึกษาด้านภาษา เป็นเพราะว่าแต่เดิมมานั้น คอมพิวเตอร์มีบทบาท เฉพาะการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ แต่ในขณะนี้สังคมข่าวสารไม่ ได้สกัดกั้นในการรับรู้สารนิเทศในภาษาอื่น ๆ มีการสร้างโปรแกรม ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน รัสเซีย สเปน และแม้แต่ภาษาทางด้านตะวันออก เช่น ภาษาอารบิค จีน ฮิบรู ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างโปรแกรมภาษาต่าง ๆ จัดทำโดยผู้ที่รู้ภาษานั้น ๆ โดยตรง หรือผู้ที่สนใจในการสร้าง โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น การสร้างโปรแกรม การใช้ภาษาไทย หรือ ภาษาลาว ตลอดจนการใช้โปรแกรมภาษาพม่า ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย วิศวกรไทย คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการขจัดปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจภาษาระหว่าง ชนชาติในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกา คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีบทบาทในด้าน การศึกษา มี การใช้คอมพิวเตอร์ มากขึ้นในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีการคาดหมายว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชั้นเรียน จาก 1:40 ในปี พ.ศ. 2529 เป็น 1 ต่อ 20 ภายในปี พ.ศ. 2533 คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทางด้านการศึกษาได้ เป็นอย่างดีไม่เฉพาะแต่ภายในสถานศึกษาเท่านั้น บริษัทเอกชนต่าง ๆ สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของตน ให้ได้รับการศึกษา หรือฝึกอบรมในงานหน้าที่ได้เป็นอย่าง ดีด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา จะเป็นเรื่องธรรมดาในระบบการศึกษาต่อไป

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข  คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวย ความสะดวก อย่างยิ่งในด้านการแพทย์ เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาล ทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ จากการใช้ประโยชน์ของสารนิเทศที่ได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอาจเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้ คือ ด้านการ รักษาพยาบาลทั่วไป ด้านการบริหารการแพทย์ ด้านห้องทดลอง ด้านตรวจวินิจฉัยโรค และด้านการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์ การใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือ ด้านวินิจฉัยโรคและด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้าข้อมูลทาง การแพทย์เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เป็นการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข อย่างไม่หยุดยั้ง คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรค สำหรับทำการรักษา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น ในวงการแพทย์เริ่มรู้จักใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI Scanner) เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจดูเนื้อ งอก พยาธิ เลือดออกในสมองและความผิดปกติอื่น ๆ ในสมอง ต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่าซีเอที (CAT-Computerized Axial Tomographic Scanner) มีวิธีการฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบ ๆ ร่างกายของมนุษย์ที่ต้องการ ถ่ายเอกซเรย์และเครื่องรับแสงเอ็กซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอกซเรย์ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บไว้ในจาน หรือแถบแม่เหล็ก แล้ว นำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเ ตอร์ ซึ่งเมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาก็นำไป เก็บในส่วนความจำ และพิมพ์ภาพออกมาหรือแสดงเป็นภาพทางจอโทรทัศน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวอย่าง ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค

ด้านอุตสาหกรรม  คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนบนของมนุษย์ ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหุ่นยนต์ ระบบควบคุมนี้ทำหน้า ที่เป็นสมองเก็บข้อมูลสั่งหุ่นยนต์ ให้ทำงานตรวจสอบและควบคุมรายละเอียดของการทำงาน ให้ถูกต้อง การประดิษฐ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอำนวยประโยชน์ในการช่วยทำงานใน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ งานที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงานยา ฆ่าแมลง โรงงานสารเคมี ง านที่ต้องการความละเอียด ถูกต้อง และรวดเร็ว เช่น โรงงาน ทำฟันเฟืองนาฬิกา โรงงานทำเลนส์กล้องถ่ายรูป และงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ และ น่าเบื่อหน่าย เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบวงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี และโรงงานทำแบตเตอรี่ เป็นต้น การประดิษฐ์สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง ในโรงงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อการ ควบคุม การผลิตสินค้าโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาก เป็นการประหยัดแรงงาน นอกจากด้านการผลิตสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์ยังมีส่วนช่วยต่อการจัด ส่งสินค้า ตามใบสั่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า เป็นต้น

ด้านเกษตรกรรม  การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การจัดทำระบบ ข้อมูลเพื่อการเกษตร ซึ่งอาจมีทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สำหรับระดับ นานาชาตินั้น อาจจะเริ่มด้วย สำมะโนเกษตรนานาชาติ ซึ่งสถาบันการเกษตรระหว่างประ เทศ (International Institute of Agriculture) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2473โดยมีประเทศต่าง ๆ ร่วมเก็บข้อมูล รวม 46 ประเทศ ต่อมาองค์การอาหารและเกษตร(FAO) ได้ดำเนินงานต่อในปี พ.ศ. 2493 และมีประเทศต่าง ๆ ร่วมโครงการเพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ข้อมูลเพื่อเกษตรกรรมทางด้านสำมะโนเกษตร นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำแบบจำลอง พยากรณ์ความต้องการ พยากรณ์ผลผลิตด้าน การเกษตร เป็นต้น

ด้านการเงินการธนาคาร  การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินและการธนาคาร เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา ช่วยในงานด้านการบัญชี และด้านการบริหาร การฝากถอนเงิน การรับจ่าย การโอนเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าว สารการธนาคาร บริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่ประชาชนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่ หลาย ได้แก่ บริการฝากถอนเงินนอกเวลา ซึ่งมีใช้กันทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไทย ซึ่งเรียกชื่อว่า บริการเงินด่วน หรือบริการเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine - ATM ) ที่ธนาคารต่าง ๆ สามารถให้บริการเงินด่วนแก่ลูกค้าได้ ทำให้เกิด ความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้เงินในการดำเนินงานทางธุรกิจต่างๆ ได้

ด้านธุรกิจการบิน ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว เพื่อการแข่งขันกับ สายการบินอื่น ๆ และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการบินโดยช่วยตรวจสอบสภาพเครื่องและอุปกรณ์ได้ อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ ธุรกิจที่มีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้ด้านการบิน อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้โดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และ บริการอื่น ๆ ของสายการบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือระบบบริการผู้โดยสาร อาจจะ เริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึง จำนวนที่นั่ง สารนิเทศด้านการบริการผู้โดยสารมีความสำคัญอย่างมาก และจำเป็นต้องได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากปัญหาทางด้านเวลา และสถานที่ รายการบินต่าง ๆ จึงได้แข่งขันในการสร้างฐานข้อมูล ทางด้านนี้ บางสายการบินได้รวมตัวกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้สารนิเทศร่วมกัน

ด้านกฎหมายและการปกครอง ทางด้านกฎหมายและการปกครอง มีการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาด้านกฎหมาย คืองานระบบข้อมูล ทางกฎหมายมีการนำสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายทุกฉบับ รัฐธรรมนูญทุกฉบับ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงประกาศต่างๆและอื่น ๆ เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะ ช่วยในการค้นสารนิเทศทางด้านกฏหมายได้อย่างรวดเร็ว ดังตัวอย่างในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีการใช้คอมพิวเตอร์ระบบแอสเปน (Aspen System Corporation) ซึ่งเป็นระบบข้อมูล ทางด้านกฎหมายที่ใช้กันมากกว่า 50 แห่ง นักกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงได้ประโยชน์ในการ ค้นสารนิเทศในเวลา อันรวดเร็ว โดยเฉพาะในการค้นข้อมูลเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น แล้ว เป็นต้น แทนที่จะค้นจากหนังสือ ซึ่งต้องเสียเวลาเป็นอันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการปกครอง ส่วนใหญ่ใช้ในกิจกรรมการเลือกตั้งดัง เช่นในประเทศไทย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาล่าสุด มีการใช้คอมพิวเตอร์มาประมวล ผลข้อมูลการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนได้ทราบผลการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว

ด้านการทหารและตำรวจ มีการใช้คอมพิวเตอร์ด้านการทหารและตำรวจ อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมากกว่า ประเทศอื่นใดในโลก แต่ผลงานด้านนี้มักจะเป็น ผลงาน ชนิดลับสุดยอดต่าง ๆ เท่าที่พอจะ ทราบกัน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในวงจรสื่อสารทหาร ใช้ในการควบคุม ประสานงาน ด้านการท หารใช้แปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ ใช้ในการผลิตระเบิดนิว เคลียร์ ใช้ในการทำสงครามจิตวิทยา ใช้ในการวิจัยเตรียมทำสงครามเชื้อโรค ใช้ในการสร้างขีปนาวุธ และใช้ในการส่ง ดาวเทียม จารกรรม เป็นต้น กรมตำรวจ กระทรวง มหาดไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ มีคอมพิวเตอร์ ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำให้เกิดความสะดวกต่อการสืบสวนคดีต่าง ๆ

ด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์และธุรกิจอื่น ๆ บทบาทของคอมพิวเตอร์ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบันมีมาก หน่วยงานทางการพิมพ์ ตลอดจนสำนักข่าวใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ไข จนกระทั่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ทำให้การจัดทำหนังสือพิมพ์ วารสาร และหนังสือต่าง ๆดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และถึงมือผู้อ่านได้อย่างทันท่วงที อุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้ และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่คนงานในประเทศ สหรัฐอเมริกากว่า 50 ล้านคน ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงาน ทางธุรกิจ มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารระบบสำนักงาน อัตโนมัติและเทคโนโลยีโทรคมนาคมอื่น ๆ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ทำให้การดำเนินงานทาง ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ไม่มีปัญหา ทางด้านระยะเวลา และสถานที่ต่อการติดต่อทางธุรกิจอีกต่อไป

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมาก ในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ ให้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบโครงสร้าง ทางวิศวกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทำให้มีส่วนช่วยต่อการออกแบบ ทางด้านวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารนิเทศอย่างไม่หยุดยั้ง

จากการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลสารนิเทศโดยระบบโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์ มีบทบาทอย่างสูง ต่อการให้บริการข้อมูลอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ผู้ใช้สารนิเทศสามารถเรียกค้นข้อมูลจากผู้ให้บริการ สารนิเทศตั้งแต่เรื่องทั่ว ๆไปจนกระทั่งขอค้นรายละเอียดจากหนังสือสารานุกรมได้ และภายในบ้านเรือน คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการใช้ของสมาชิกภายในครอบครัวทุกคนภายในบ้าน มีโอกาสได้เล่นเกมวีดิทัศน์ ด้วยความบันเทิงสนุกสนาน และ ศึกษาความรู้จากบทเรียนสำเร็จรูป ไปด้วยในตัว คอมพิวเตอร์สำหรับบ้าน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับนักธุรกิจในการจัดเตรียมจดหมาย การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสารนิเทศส่วนบุคคล และ การดำเนินงานกิจการต่าง ๆ ของสมาชิกภายในครอบครัว บทบาทของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมากมายทางด้านต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้สารนิเทศ ต้องการใช้ในด้านใด คอมพิวเตอร์เมื่อนำมาใช้รวมกับระบบโทรคมนาคมการสื่อสาร สามารถจะเปลี่ยนอนาคตของสังคมปัจจุบัน เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนต่อการทำ กิจกรรมต่าง ๆ สิ่งที่บรรณารักษ์จะหลีกเลี่ยงต่อไปไม่ได้ คือการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูล ภายในห้องสมุดโรงเรียน นับตั้งแต่การนำมาใช้แทน เครื่องพิมพ์ดีดในขอบเขตของงานเอกสาร ตลอดจนกระทั่งถึงงานการให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลสำเร็จรูป หรือ งานฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเอง

ที่มาจาก
http://learners.in.th/blog/add/72404
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
http://blog.eduzones.com/moobo/78858


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้

1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น

2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล เสริมสร้างการเรียนรู้ เพราะปัจจุบันมีสื่อการศึกษาที่ทันสมัยมากขึ้นนอกจากหนังสือเรียนธรรมดาแล้ว ยังมี วีดีทัศน์ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน

3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดีทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน หรืออย่างที่ครูเป๋งให้เราฝึกทำBlog ไงล่ะคะ ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนจึงมากขึ้น

4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน

5. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.info.tdri.or.th/library/quarterly/white-pp/wb14.htm
สิริวดี เวทมาหะ เลขที่ 34 ห้อง ม.4/2 สิริวดี เวทมาหะ เลขที่ 34 ห้อง ม.4/2 ที่ 5/30/2551
ป้ายกำกับ: ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_7994.html

ความสำคัญของเทคโนโลยีต่อการศึกษาไทย 
บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ในปัจจุบันโลกเราก้าวล้ำเทคโนโลยีไปอย่างรวดเร็วทำให้การพัฒนาด้านการศึกษารุดหน้าก้าวไกลตามเทคโนโลยีด้วย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งรวบรวมขุมทรัพย์ทางปัญญาอย่างมากมายมหาศาลในลักษณะที่สื่อประเภทอื่น ไม่สามารถกระทำได้ ผู้เรียนจะมี ความสะดวกต่อการค้นหาข้อมูลในลักษณะใดก็ได้ เช่น การค้นหาหนังสือ หรืออ่านบทคัดย่อ จากห้องสมุดออนไลน์(E-Library) การเข้าไปอ่าน หนังสือนิตยสารต่าง ๆ วรรณกรรม ตำรา วารสาร หรือเอกสารทางวิชาการบนเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใดก็ตาม จะเป็นโรงเรียนต่างจังหวัด โรงเรียนในเมือง หรือโรงเรียนในต่างประเทศ ก็สามารถเข้าไปใช้ เครือข่ายได้อย่างเท่าเทียมกันโดยผ่าน (E-learning) เกิดทักษะการคิดอย่างมีระบบ (high-order thinking skills) โดยเฉพาะทักษะการวิเคราะห์ แบบสืบค้น (inquiry-based analytical skills) การคิดเชิงวิเคราะห์ (critical thinking) การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระ ทั้งนี้เทคโนโลยีทำให้ย่อโลกอยู่ในมือคุณ เพียงแค่คลิก ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 หมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม

(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อมสื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน

ดังนั้น ปัจจัยด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งผลและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและยกระดับการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ดังนี้

1. เปิดโอกาสให้ครู อาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลาย หรือ เสมือนหนึ่งมี " ห้องสมุดโลก" (Library of the World) เพียงปลายนิ้วสัมผัส ตัวอย่างเช่น ครูและนักเรียนสามารถค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่ และเวลา (Anywhere & Anytime) คณาจารย์และนักเรียนที่ด้อยโอกาสอันเนื่อง มาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแหล่งห้องสมุดที่ดีสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน มากยิ่งขึ้น เด็กนักเรียนเองสามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์พืช ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ข้อมูลทาง ประวัติศาสตร์ชุมชน ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเด็ก ทั่วโลก ในขณะที่ครูสามารถ นำ เนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอน ลงในเว็บไซต์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา และแลกเปลี่ยนภายในวงการซึ่งกันและกัน

2.พัฒนาการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่อินเทอร์เน็ตสามารถให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และง่ายต่อการใช้ ทำให้เกิดการสื่อสาร เพิ่มมากขึ้นในระบบการศึกษาทั้งที่เป็นการสื่อสาร ระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียนเองซึ่งในปัจจุบันคณาจารย์จำนวนมากในหลายสถาบัน ทั้งระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ได้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการให้การบ้าน รับการบ้าน และตรวจส่งคืน การบ้าน ในขณะเดียวกัน การสื่อสารระหว่างนักเรียนสามารถช่วยส่งเสริมการทำงานกลุ่ม การปรึกษาหารือกับครูและเพื่อนนักเรียน ในเชิงวิชาการ ตลอดจนการติดต่อกับเพื่อนทั้งในและต่างประเทศ

3. เปลี่ยนบทบาทของครูและนักเรียน การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนจะทำให้บทบาทของครูปรับเปลี่ยนไป จากการเน้นความเป็น "ผู้สอน" มาเป็น "ผู้แนะนำ" มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็นการเรียนรู้ "เชิงรุก" มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนสามารถเรียน และค้นคว้า ได้ด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวกรวดเร็วและมากยิ่งขึ้นแต่อย่างไรก็ตามก็มีความจำเป็น ที่จะต้องตระหนักว่า บทบาทและรูปแบบที่จะปรับเปลี่ยนไปนี้จะต้องมีการเตรียมการที่ดีควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของครูที่จะต้อง วางแผนการ "ชี้แนะ" ให้รัดกุม เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิผลดีขึ้น ปรับจากการเรียน ตามครูสอน (passive learning) มาเป็นการเรียนรู้วิธีเรียน (learning how to learn) และเป็นการเรียนด้วยความอยากรู้ (active learning) อย่างมีทิศทาง.

อย่างไรก็ตามแม้เทคโนโลยีจะช่วยยกระดับการศึกษาให้ทุกคนได้ตลอดชีวิต เพียงแค่คลิกทุกอย่างย่อมมี 2 ด้าน ดังนั้นทั้งครูผู้สอนและผู้ใช้เทคโนโลยีในการศึกษานั้น ควรตระหนักถึงจริยธรรมและสิทธิส่วนบุคคลในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนรู้ต่อไปดังคำว่า “การศึกษาเป็นการลงทุนที่ร่ำรวยที่สุดของมนุษย์”

แหล่งอ้างอิง:
พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.panyathai.or.th (2552, กุมภาพันธ์ 24 )เวลา 14.10 น.

ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา [online].เข้าถึงได้จาก: http://www.comindex.thport.com (2552, กุมภาพันธ์ 24 )เวลา 14.15 น.
http://www.gotoknow.org/posts/244347

ความหมายของเทคโนโลยี
ความหมายของ "เทคโนโลยีการศึกษา" (education technology) ได้มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ดังนี้
 วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517 : 120-121) เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน

คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V.Good ,1973) เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบ และส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสมและ การศึกษาด้วยตนเอง

กิดานันท์ (2543)  เป็นการประยุกต์เอา เทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษาจากการที่นักการศึกษาและนักวิชาการท่านต่าง ๆ ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้มากมาย หลายแง่มุมเพื่ออธิบายภาพลักษณ์ของเทคโนโลยีการศึกษา เป็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่า ความหมายของคำนี้ได้มีพัฒนการ และเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามการพัฒนาเทคโนโลยีีนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2506เป็นต้นมาจนถึงความหมายที่ใช้กันในปัจจุบันตามที่สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Association for Educational Communications and Technology: AECT) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมาย ไว้เมื่อปี พ.ศ.2537ว่า (Seels&Richey, 1994:9) "เทคโนโลยีการศึกษาเป็นทฤษฎีและการปฏิบัติของ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมินของ กระบวนการและทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้"

ณัฐวดี ศรีขวัญแก้ว  ความหมายของเทคโนโลยี มีการให้ความหมายของเทคโนโลยีหลากหลายกันออกไป ดังนี้ เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ การนำความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานมาประดิษฐ์คิดค้น การควบคุมการผลิต เพื่อให้ มนุษย์มีความสะดวกสบาย ในการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
ได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้
1 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
3 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
4 เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
5 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
6 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
1. บทบาทด้านการจัดการ
2. บทบาทด้านการพัฒนา
3. บทบาทด้านทรัพยากร
4. บทบาทด้านผู้เรียน

จาก Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

http://portal.in.th/natthawadee/pages/dete/

การบูณาการ ICT กับการเรียนการสอน  “ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน ใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐาน สากล” เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ครอบคลุมถึง การรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล การค้นคืนสารสนเทศ.

ความเป็นมาของ ICT กับการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบการศึกษา รูปแบบการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป คือ เน้นการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ ความคิด และกระบวนการที่รวดเร็วต่อสารสนเทศ การใช้รูปแบบการสอนแบบยืดหยุ่นที่ไปเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่มี อยู่ใน ประเทศ จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนมากกว่าการสอนโดยใช้โครงสร้างการเรียนแบบยืดหยุ่นพัฒนาเทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน

การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
อิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อระบบโครงสร้างของสภาพแวดล้อมทางการศึกษาหลายด้าน อาทิ ระบบสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการศึกษามากขึ้น หลักสูตรเป็นแบบ ยืดหยุ่น และมีการกระจายในหลายๆ ด้านการบริหารเน้นกระจายการบริหารสู่ ชุมชน กลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก และใช้เครือข่ายการเรียนรู้ มีการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ชุมชน สมาชิกของสังคม ครูและนักเรียนเป็นต้นดังนั้นสภาพแวดล้อมทางการศึกษาในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการเรียนใหม่ และเปลี่ยนแปลงความต้องการในการศึกษาในอนาคต สื่อสมัยใหม่เข้ามาแทนที่สื่อ แบบเก่า แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ธรรมชาติของนักเรียน จะเป็นผู้แสวงหาและใฝ่หาเพื่อการเรียนรู้อยู่แล้ว ครูจึงเสมือนเป็นผู้เสริมแต่ง และสร้างแนวทาง รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ เน้นวิธีการเรียนรู้ในแนวใหม่ที่สามารถเรียนรู้ร่วมกันทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่และบุคคล จากแนวคิดดังกล่าวจึงได้สร้างรูปแบบการคำนวณโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นเครื่องมือช่วยสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการเข้ากับทุกวิชาในโรงเรียนตั้งแต่การใช้กิจกรรมเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดแบบเป็นระบบ ความคิดที่มีเหตุผล การหาคำตอบและคิดค้นต่าง ๆ รวมทั้งสร้างโมเดลการศึกษาแบบ ต่างๆ เป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน รุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อนต่างห้อง ต่างโรงเรียน บ้านและโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างกิจกรรมการศึกษาทั้งในรูปแบบซิงโครนัสและอะซิงโครนัส โดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เข้ามาช่วย ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมสามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีดังกล่าวจึงเรียกรวมว่า Information and Communication Technology (ICT) มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษา

แนวคิดเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการเรียนรู้ 

เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วย สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้านมีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web

เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการ ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้าน การศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับ ผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยระบบที่เป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกล

บทบาทของสถานศึกษาในการใช้ ICT
• กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันด้าน ICT
• จัดทำหลักสูตร/จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการด้าน ICT
• ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
• สนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง
• ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครู

สถานศึกษาที่มุ่งหวังจะนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องต่อไปนี้
• มีความร่วมมือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน
• ติดต่อกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เชื่อมโยงโรงเรียนเข้ากับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
• จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
• ขจัดปัญหาเรื่องพรมแดน สถานที่และเวลา
• นำศักยภาพของสื่อ ICT มาช่วยเสริมกระบวนการเรียนรู้
ความสำเร็จในการใช้ ICT ในการเรียนรู้
• ผู้เรียน : จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้
• หลักสูตร : จะต้องมีการสอดแทรก ICT เข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้ เกิดการคิด วิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้
• ผู้สอน/ผู้บริหาร : จะต้องมีทักษะพื้นฐาน และสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรม การเรียนการสอน
• เทคโนโลยี : เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้เรียน

ประโยชน์การบูณาการ ICT กับการเรียนการสอน
1) ครูเป็นผู้นำส่งข้อมูลใหม่ๆ กระตุ้นให้นักเรียนทำงาน เรียนรู้จากแหล่ง เรียนรู้ ที่กำหนดไว้
2) การให้ความรู้ที่นักเรียนต้องการจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนเรียนรู้ได้ ดีกว่าการให้ความรู้ใน สิ่งที่ครูต้องการ
3)นักเรียนเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ฟัง เป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิด การเรียนรู้ด้วยตนเอง
4)การใช้เวลาในการทำงาน หรืออ่าน ในสิ่งที่สนใจ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ดีกว่าการฟังครูพูด
5) นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา
6) ช่วยครูประหยัดเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ที่มา นายมังกร ศรีษะโคตร นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (พ.21) ศูนย์มหาสารคาม
http://www.learners.in.th/blogs/posts/259529

วิเคราะห์ 5 ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการศึกษาไทย
การกำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการศึกษาไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำฐานข้อมูล โดยวิเคราะห์และสกัดปัจจัยสำคัญออกมา บทความนี้นำเสนอปัจจัยภายนอก 5 ประการสำคัญที่มีผลต่อการจัดการศึกษาไทย ดังนี้

1. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีการเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน และปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อตลาดแรงงานและตลาดการศึกษา เนื่องจากการกำหนดลักษณะของแรงงานที่ต้องการ อาทิ เศรษฐกิจใหม่ จะแข่งขันกันด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ดังนั้น การศึกษาต้องพัฒนาคนให้มีทักษะการทำวิจัย ให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และเงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ต้องลดการกีดกันการแข่งขันเท่านั้น ยังต้องแข่งขันกันด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีฝีมือ มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ การบริหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ

3. ปัจจัยด้านระบบราชการ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเคลื่อนไปอย่างยากลำบาก เนื่องด้วยระบบราชการเป็นอุปสรรค ซึ่งเกิดจาก ความล่าช้าในการประสานงาน เนื่องจากการทำงานตามระบบราชการไทย มักทำงานแบบต่างคนต่างทำไม่ไปในทิศเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของการรวมศูนย์ที่ส่วนกลางมากเกินไป การทำงานแบบราชการ ที่ยึดกฎระเบียบตายตัว ขาดความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาและครูบางส่วนที่ไม่ยอมปรับตัว

4. ปัจจัยด้านการเมือง กล่าวกันว่า การปฏิรูปหรือพัฒนาการจัดการศึกษาจะสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับการเมืองมากกว่าแนวทางและวิธีการ แต่หากการเมืองไทยมีเงื่อนไขบางประการที่เป็นอุปสรรค จะส่งผลให้การปฏิรูปการศึกษาไทยไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อาทิ

การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) บ่อยครั้งทำให้การดำเนินนโยบายการพัฒนาการศึกษาไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะรัฐบาลทักษิณ มีการเปลี่ยนรัฐมนตรี ศธ. บ่อยมาก คนละ 9 เดือนโดยเฉลี่ย นักการเมืองมอง ศธ. ว่า เป็นกระทรวงที่สร้างผลงานได้ยาก ตำแหน่ง รมว. ศธ. จึงนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง อาทิ เป็นรางวัลแก่ผู้สนับสนุนพรรค ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งจึงมิใช่ผู้มีความรู้ในด้านการศึกษาอย่างแท้จริง

ความไม่สอดคล้องของเป้าหมายของการจัดการศึกษากับเป้าหมายทางการเมืองเป้าหมายของนักการเมืองหลายคนคือ ต้องการคะแนนนิยม จึงมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ไม่ดำเนินนโยบายที่ให้ผลในระยะยาว เนื่องจากเสี่ยงที่จะทำให้ตนเองไม่เป็นที่นิยมทางการเมือง ซึ่งนั่นหมายความรวมถึงนโยบายการศึกษา ดังนั้นนักการเมืองจึงเลือกดำเนินนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น เพื่อทำให้ตนเองได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง อันเป็นอุปสรรคยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาไทย

5. ปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคมไทยมีเงื่อนไขทางวัฒนธรรมหลายประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไทย ดังนี้

ขาดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม สังคมไทยในปัจจุบันขาดความเหนียวแน่น ขาดความร่วมแรงร่วมใจ คนในสังคมจึงมองการศึกษาว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลไม่เกี่ยวกับตนเอง

รักความสนุกและความสบายคนไทยส่วนใหญ่สนใจความบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

สังคมอุปถัมภ์ สังคมไทยยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าส่วนร่วม ผู้ที่มีอำนาจมักแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยที่ประชาชนไม่กล้าขัดขวาง เพราะต้องพึ่งพาอาศัย ดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการศึกษา อาจกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์ให้กับผู้มีอิทธิพลได้หากควบคุมไม่ดี

ขาดการเปิดกว้างทางความคิดและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น สังคมไทยมีค่านิยมว่า การมีความคิดที่แตกต่างหรือการเป็นแกะดำ เป็นสิ่งไม่ดี มองผู้ที่คิดแตกต่างเป็นศัตรู และพยายามหักล้างความคิดซึ่งมักกระทำโดยใช้อารมณ์มิได้ใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผู้เรียนที่ปัจจุบันมุ่งสร้างคนให้คิดเป็นทำเป็น

ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่หน่วยงานกำหนดธงพัฒนาระบบการศึกษาไทย จะต้องให้ความสำคัญ และนำไปใช้วิเคราะห์วางแผนกำหนดทิศทางและนโยบาย โดยเฉพาะปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งมีอิทธิพลมากต่อการพัฒนาการศึกษาไทย เพราะหากแม้ว่าจะมีการขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นมากเพียงใด แต่หากปัจจัยการเมืองไม่ถูกพัฒนาให้เอื้อต่อการจัดการศึกษา ย่อมส่งผลให้การขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นย่อมกระทำได้ยาก และอาจไม่นำพาสู่ความสำเร็จได้ หากเปรียบเทียบให้ปัจจัยทางการเมือง เปรียบเสมือนน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ระบบการศึกษาไทยเติบโตงอกงามผลิดอกออกผลที่มีคุณภาพ แต่หากขาดการหล่อเลี้ยงน้ำที่มากเพียงพอ ย่อมจะทำให้การจัดการศึกษาเหี่ยวเฉา และไม่เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการพัฒนาการจัดการศึกษาไทย จึงขึ้นอยู่กับจุดยืนและภาวะของผู้นำประเทศและผู้นำกระทรวงศึกษาธิการที่ให้ความสำคัญ ผลักดันและสนับสนุน ให้เกิดการขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบการศึกษาไทย

http://www.kriengsak.com/node/1040
http://thongkred99.blogspot.com/2013/07/ict_8804.html